สระในภาษาไทยแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ รูปสระ และเสียงสระ
รูปสระมี 21 รูป และมีชื่อเรียกต่าง ๆ ดังนี้
รูปสระ | ชื่อ | รูปสระ | ชื่อ |
1.ะ | วิสรรชนีย์ | 12.ใ | ไม้ม้วน |
2.อั | ไม้หันอากาศ | 13.ไ | ไม้มลาย |
3.อ็ | ไม้ไต่คู้ | 14.โ | ไม้โอ |
4.า | ลากข้าง | 15.อ | ตัว ออ |
5.อิ | พินทุ์อิ | 16.ย | ตัว ยอ |
6.' | ฝนทอง | 17.ว | ตัว วอ |
7.อํ | นิคหิตหรือหยาดน้ำค้าง | 18.ฤ | ตัว รึ |
8." | ฟันหนู | 18.ฤๅ | ตัว รือ |
9.อุ | ตีนเหยียด | 20.ฦ | ตัว ลึ |
10.อู | ตีนคู้ | 21.ฦๅ | ตัวลือ |
11.เ | ไม้หน้า |
เสียงสระ เมื่อนำรูปสระทั้ง 21 รูป มารวมกัน จะได้สระทั้งหมด 32 เสียง จำแนกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
สระแท้ มี 18 เสียง แบ่งออกเป็น
สระเสียงสั้น ได้แก่
สระเสียงสั้น ได้แก่
อะ | อิ | อึ | อึ | เอะ | เออะ | โอะ | แอะ | เอาะ |
สระเสียงยาว ได้แก่
อา | อี | อื | อู | เอ | เออ | โอ | แอ | ออ |
สระประสม มี 6 เสียง ได้แก่
เอีย เกิดจากเสียง - + -า เอีย เอียะ เกิดจากเสียง -ิ + -ะ เอียะ เอือ เกิดจากเสียง -ื + -า เอือ เอือะ เกิดจากเสียง -ึ + -า เอือะ อัว เกิดจากเสียง -ู + -า อัว อัวะ เกิดจากเสียง -ุ + -ะ อัวะ
สระลอย มี 8 เสียง ได้แก่
ฤ | ฤา | ฦ | ฦา | อำ | ไอ | ใอ | เอา |
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น